พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก)
พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่พบเห็นน้อยมาก มีลักษณะแนว "ซุ้มครอบแก้ว" ใกล้เคียงกับ "พระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ใหญ่(เก่า)มากที่สุด พระเศียรกลมโต ไหล่กว้าง จุดไข่ปลาด้านขวาองค์พระ อยู่ต่ำกว่าหัวฐานชั้นที่ 3 เล็กน้อย และพิมพ์นี้ยังเป็นแม่พิมพ์ต้นแบบของ "พิมพ์ต้อ" อีกด้วย แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ "แบบบาง" และ "แบบหนา"
- พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบบาง เนื้ออมเหลือง : พระเกศมีเส้นซ้อนกัน 2 ชั้น พื้นผิวพิมพ์แบนราบทั้งหน้า และหลัง ขอบบาง
- พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบหนา เนื้อขาว : พระเกศเรียวแหลมมีชั้นเดียว พื้นผิวพิมพ์ด้านหน้าอูมเล็กน้อย ขอบหนา
จุดเด่น คือ พระเศียรกลมโต และใต้เส้นปิดซุ้มมุมล่างขวาองค์พระ มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นขีดสั้นๆ จุดนี้เหมือนกันทั้งแบบบาง และแบบหนา
(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
จุดพิจารณาสำคัญ พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบบาง เนื้ออมเหลือง
1.มุมนอกเส้นซุ้มล่างด้านซ้ายองค์พระมีเนื้อเกิน 1 จุด
2.มีจุดเล็ก 3 จุด ใต้เส้นปิดซุ้ม
3.มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นขีดสั้นๆ
4.พระเกศซ้อน 2 ชั้น
5.พื้นผิวพิมพ์แบนราบทั้งหน้า และหลัง ขอบข้างบาง
6.มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นขีดสั้นๆ
จุดพิจารณาสำคัญ พิมพ์ต้อใหญ่ (บล็อคแรก) แบบหนา (เนื้อขาว)
1.พระเศียรกลมโต พระเกศเรียวแหลมมีชั้นเดียว
2.มีจุดเล็กๆใต้แขนซ้ายองค์พระ
3.มีเส้นกรอบบังคับพิมพ์เป็นเส้นพริ้วสั้นๆ
**แม่พิมพ์นี้จะดูองค์พระอวบใหญ่**
พิมพ์ต้อใหญ่ สภาพต่างๆ
ด้านหน้า