รุ่น 100 ปี พิมพ์หลังเต่า
ลักษณะพิมพ์ "หลังเต่า" พระเกศเรียวยาว พระพักตร์รูปไข่ ขอบค่อนข้างหนา หากมองจากขอบด้านบน หรือด้านล่างจะเห็นความหนาของขอบ และดูลักษณะเป็นแนวโค้งคล้ายหลังเต่า พิมพ์นี้มีทั้งแบบที่กดพิมพ์ลึก และกดตื้น ซึ่งอาจทำให้จุดสังเกตุแตกต่างกันบ้างไม่ครบถ้วน แต่ก็มาจากตัวบล็อคพิมพ์เดียวกัน เนื้อมวลสารขาว ถึงขาวอมเหลือง สีผึ้งเคลือบผิวค่อนข้างหนา พิมพ์นี้หากพระไม่ผ่านการล้าง มักจะพบว่าพระมีคราบปลวกเกาะติดมาด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++
พิมพ์หลังเต่า (แบบลึก)
1.มุมขอบซ้ายบนองค์พระมีเส้นนูนเป็นแนวยาว (จุดสำคัญ)
2.มีก้อนเนื้อนูนอยู่บนพระพักตร์
3.เข่าซ้ายองค์พระขยักซ้อนกันเป็น 2 ชั้น
4.จุดไข่ปลาเม็ดค่อนข้างเล็ก อยู่ระหว่างชั้นที่ 2 และ 3 ขวามือองค์พระพอดี
ขนาดเท่าองค์จริง สูงประมาณ 3.7 ซม.
++++++++++++++++++++++++++++++
พิมพ์หลังเต่า (แบบตื้น)
1.มุมขอบซ้ายบนองค์พระมีเส้นนูนเป็นแนวยาว (จุดสำคัญ) จุดนี้จะติดชัดทั้งแบบลึก และแบบตื้น
2.พระแบบตื้น กดพิมพ์มาจากตัวบล็อคพิมพ์เดียวกับแบบลึก แต่จุดสังเกตต่างๆ อาจจะไม่ติดชัดครบถ้วนแตกต่างกันบ้าง
++++++++++++++++++++++++++++++
พิมพ์หลังเต่า ด้านหลัง ด้านข้าง
- หลังมีลักษณะปาดเรียบมีรอยกระดาษทรายเกิดจากการขัดแต่งพิมพ์ ทั้งด้านหลัง และด้านข้าง มีรอยปริเป็นหลุมลึกคล้ายรูเข็มให้เห็นประปรายอยู่ทั่วองค์
- ด้านข้าง หากมองจากขอบด้านล่าง จะเห็นลักษณะของพื้นผิวด้านหน้าองค์พระ เป็นแนวโค้งคล้ายหลังเต่า
++++++++++++++++++++++++++++++